

การจัดแสดงนิทรรศการออนไลน์ โครงการ ส่งเสริม สืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการพัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำ เป็นอาชีพเสริมให้กับชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผา ต.หนองไม้งาม และ ต.บึงเจริญ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์และการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดการจัดแสดงนิทรรศการออนไลน์ โครงการ ส่งเสริม สืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการพัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำ เป็นอาชีพเสริมให้กับชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผา ต.หนองไม้งาม และ ต.บึงเจริญ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำเป็นอาชีพใหม่ อาชีพเสริม ให้กับชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อจัดทำหลักสูตรการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีพผ่านงานศิลปหัตถกรรมด้านเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการงานวิจัยที่สัมฤทธิ์ผลแล้ว มาต่อยอด เชื่อมโยงโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่าง กลุ่มผู้ผลิต ชุมชนเป้าหมาย ภาคีเครือข่ายและนักเรียน นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์และการออกแบบให้สามารถผลิตได้จริง
เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ให้เกิดอาชีพใหม่ให้กับชุมชน สร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป
เครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งในงานหัตถกรรมหลายประเภทที่มนุษย์สามารถผลิตขึ้นได้ และเป็นงานหัตถกรรมที่มีอายุยืนยาวแม้จะแตกหักง่ายแต่ก็ไม่สูญสลายไปง่ายนัก จะยังสภาพอยู่ได้นานนับเป็นพัน ๆ ปี ผลิตภัณฑ์ชนิด Terra-Cotta หรือ Earthenware เป็นผลิตภัณฑ์ทำจากดินสีแดง เผาที่อุณหภูมิต่ำ มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ในปัจจุบันนิยมเสริฟต้มยำและหม้อไฟชนิดต่าง ๆ ในหม้อดินด้วย ซึ่งนับว่าเลือกใช้ได้ถูกต้อง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากดินแดง ได้แก่ กระถางต้นไม้ คนโทน้ำ หม้อน้ำ และอิฐมอญ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เผาที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ จาก 800 – 1,100 องศาเซลเซียส เนื่องจากมีราคาถูกมาก ชาวบ้านจึงนิยมใช้กันหาซื้อได้ง่ายตามท้องถิ่นและตามชนบทสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวบุรีรัมย์ คือ ในอดีตเคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาที่ใช้กันแพร่หลาย ในท้องถิ่นจนผลิตได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏหลักฐานคือ การพบเตาเครื่องเคลือบดินเผากระจายอยู่ และกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผา อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นรูปแบบมาแล้วในช่วงแรกเมื่อประมาณปี 2554 – 2555 มีการฝึกอาชีพเครื่องปั้นดินเผา ฝึกปั้นขึ้นรูปแบบแป้นหมุน การปั้นตกแต่ง การเผาผลิตภัณฑ์ แต่ประสบปัญหาด้านกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบทั้งเนื้อดินและน้ำเคลือบ เทคนิควิธีการขึ้นรูป และกระบวนการเผาผลิตภัณฑ์ จากเหตุผลดังกล่าว สาขาเทคโนโลยีเซรามิกส์และการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในการจัดทำโครงการ การพัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำ เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับชุมชนตามแนวทางพระราชดำริ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ คุณค่าทางภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรมพื้นบ้านและความหลากหลายของกลุ่มคน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น บนพื้นฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยการบริหารจัดการโครงการวิจัย ให้มีศักยภาพด้วยการส่งเสริมให้ภาคีเครือข่าย ใช้ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า การบริการ และการตลาดในทุกมิติ โดยการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านงานศิลปหัตถกรรม ด้านเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนให้มีความรู้ ความชำนาญและความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานวิจัยพัฒนาสร้างความคิดใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพจากภูมิปัญญาเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงเป็นระบบ ในทุกระดับความรู้ เป็นการประยุกต์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เด็กนักเรียน เยาวชน ประชาชน และผู้สนใจทั่วไปในท้องถิ่นสืบไป